Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

เตรียมเล้าคลอดก่อนรับแม่หมูให้ดี…แม่หมู Happy คนเลี้ยงก็ Happy ^^

ปัญหาที่เรามักพบในเล้าคลอดบ่อย ๆ อย่างเช่น แม่สุกรป่วยหลังคลอด เต้านมอักเสบ นมแห้ง ลูกสุกรป่วย ท้องเสีย ล้วนแต่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของฟาร์มอย่างมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการจัดการภายในเล้าที่ไม่ดี อุณหภูมิและความชื้นที่ไม่เหมาะสม การจัดการอาหารและน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่มักเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาในเล้าคลอด และหลายฟาร์มอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงพอ นั่นคือ “การล้างพักเล้าที่ไร้ประสิทธิภาพ” นั่นเอง แม่สุกรใกล้คลอดมดลูกและหัวนมจะเริ่มขยายเป็นโอกาสให้เชื้อโรคตามพื้นคอกเข้าสู่ร่างกายแม่สุกรง่ายขึ้น หากเราล้างซองคลอดไม่สะอาดและไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้วนั้น จะไม่สามารถกำจัด ป้องกันและควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น แบคทีเรีย รา ยีสต์ นอกจากนี้ยังเป็นการสะสมเชื้อในโรงเรือนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ จนสร้างความเสียหายระยะยาวให้กับทางฟาร์ม ซึ่งหลักการล้างพักเล้าที่ดีสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. หลังจากย้ายแม่สุกรและลูกสุกรหย่านมออกจากเล้าคลอดเสร็จสิ้นแล้ว ให้ราดโซดาไฟตามอัตราส่วน 1-2% ราดบนพื้นคอกให้ทั่วเพื่อให้ฆ่าเชื้อก่อนทำการล้างคอกด้วยเครื่องแรงดันสูง เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงเชื้อไวรัสอย่างเชื้อ ASF ด้วย
  2. หลังจากราดโซดาไฟและล้างคอกด้วยเครื่องแรงดันสูงจนสะอาดแล้ว ให้ใช้ผงซักฟอกละลายน้ำจนเกิดฟองขัดตามพื้นคอกกรงให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีจึงทำการล้างออกด้วยน้ำสะอาด
    Tips : การใช้ผงซักฟอกหรือสารชะล้าง จะช่วยขจัดเศษสิ่งสกปรก โดยเฉพาะอุจจาระของหมูที่มีไขมันปนอยู่ ทำให้การล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่สามารถขจัดได้หมด จำเป็นต้องใช้สารชะล้างเข้ามาช่วย เพื่อให้ล้างได้สะอาดจริง
  3. หลังจากนั้นก็สามารถพ่นยาฆ่าเชื้อให้ทั่วตามอัตราส่วนของยาฆ่าเชื้อนั้น ๆ

Tips : อย่าลืมตรวจสอบความสะอาดด้วยสายตาหลังกระบวนการล้างเสร็จสิ้น หากไม่สะอาดให้ทำการล้างตามขั้นตอนที่ 1 ใหม่อีกครั้ง หรือหากต้องการเพิ่มการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ อาจมีการสุ่มตรวจเชื้อแบคทีเรียที่หลงเหลือหลังการล้างฆ่าเชื้อ เพื่อยืนยันประสิทธิภาพที่ดีอีกด้วย

  1. พักคอกให้ได้อย่างน้อย 7 วัน

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ (ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมปศุสัตว์) อัตราการใช้ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการฆ่าเชื้อ รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจในวิธีการใช้งานที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยกับผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเราทำตามขั้นตอนครบทุกอย่างแล้ว แต่อัตราการใช้เราไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อก็ไม่สามารถตัดวงจรเชื้อที่ฝังอยู่ในโรงเรือนได้

ทีมวิชาการ iTAC

#iTACTeam #ทิมวิชาการไอแทค #ASF

#หมู #สุกร #Swine #เล้าคลอด #แม่สุกร #ลูกสุกร

 

For customer        02-937-4888