นายสัตวแพทย์ธานินทร์ ชีวะผลาบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทในเครือ เวทโปรดักส์
ได้เปิดเผยว่า…….บริษัทได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคปศุสัตว์ และ โรงพยาบาลสัตว์ ในภาคปศุสัตว์นั้นยังมีการส่งผลิตภัณฑ์ ของบริษัทฯไปจำหน่ายในประเทศต่างๆ หลายๆประเทศอีกด้วย เราขยายงานครบแทบทุก Sector ได้แก่ สุกร สัตว์ปีก สัตว์เคี้ยวเอื้อง และ สัตว์น้ำ นอกจากนั้น ในปีที่ผ่านมาได้รุกตลาดไปที่โรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย ในส่วนของโรงพยาบาลสัตว์ ในนาม โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท มี 5 สาขา โดย 3 สาขาตั้งอยู่ในประเทศไทย ส่วนอีก 2 สาขาตั้งอยู่ที่ประเทศเวียดนาม และ ลาว |
นอกจากนั้นเราได้ก่อตั้ง สำนักเทคนิคเวทโปรดักส์ กรุ๊ป ในนาม ITAC (The International Technical and Academic Center) มีภารกิจในการส่งเสริมการผลิตครบวงจร ทั้งด้านการจัดการ , โรค , อาหารสัตว์ รวมถึง มาตรฐานต่างๆ และยังเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ด้านวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
และเพื่อเป็นการตอกย้ำ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในนาม VRI (Vet Products Group Research and Innovation Center)ด้วยกลยุทธ์ในการพัฒนาสร้างสรรผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจจะ 10 ปี 50 ปี หรืออีก 100ปี เป็นการมอง Trend ระยะยาว และไปดัก Trend ตรงจุดนั้น
เราขยายตัวอย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 % ในทุกปี ณ วันนี้ เวทโปรดักส์ กรุ๊ปถือว่าเป็นองค์กรข้ามชาติขนาดใหญ่แต่เรากระจายการทำงานไปที่ภาคส่วนต่างๆเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและยืดหยุ่น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด พนักงานทำงานอย่างมีความสุข มีความก้าวหน้าและมั่นคงในชีวิตการทำงาน
ในนามของผู้บริหาร และ พนักงานในเครือ เวทโปรดักส์ ขอขอบคุณ ผู้มีอุปการะคุณทุกท่านที่ใช้บริการและสนับสนุนการทำงานของบริษัทฯมาโดยตลอด เราขอให้คำมั่นสัญญาว่า มุ่งเน้นคุณภาพของสินค้า และบริการเป็นสำคัญ และจะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
Success story of 26 th year of Vet Products Group: ASP as a Leading International Manufacture.
ได้กล่าวถึงเส้นทางความสำเร็จในมุมมองที่ตนเองได้รับผิดชอบตั้งแต่ 26 ปีที่แล้ว ……โดยเริ่มต้นจากงานฝ่ายขายและการตลาดของ บริษัท เวทโปรดักส์แอนด์คอนซัลแตนท์ จำกัด ในช่วง 2-3 ปีแรกในการสร้างฐานลูกค้าจนได้รับความไว้วางใจ ทำให้มีลูกค้าตอบรับเป็นอย่างดี จากนั้นจึงไปรับผิดชอบและเติบโตในสายงานฝ่ายวิชาการของเครือบริษัทฯอีก 6 ปี ด้วยการพัฒนางานวิชาการในการส่งเสริมการผลิตของฟาร์ม และพัฒนาทีมที่ปรึกษาให้กับฟาร์มของลูกค้า และร่วมเป็นกองบรรณาธิการวารสาร “เวทไดเจสต์” ซึ่งนำเสนอความรู้วิชาการที่ทันสมัยในหลากหลายแง่มุมเพื่อการพัฒนาฟาร์มและปศุสัตว์ และเป็นหนึ่งในผู้ที่รับผิดชอบการขยายงานวารสารเวทไดเจสต์ไปสู่ต่างประเทศอีกด้วย
ด้วยวิสัยทัศน์ของเครือเวทโปรดักส์ คุณหมอวินัยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บุกเบิกและรับผิดชอบในการขยายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของเครือตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน การค้าระหว่างประเทศของเครือได้เริ่มต้นด้วยการส่งออกไปประเทศเวียดนาม และในปี 2548 คุณหมอวินัยได้รับตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป ของบริษัท แอนิมัล ซัพพลีเมนท์ แอนด์ฟาร์มาซูติคอล จำกัด(ASP) และกรรมการบริหารของเครือบริษัท ในช่วงนั้นภารกิจด้านงานต่างประเทศจะชะลอตัวลง แล้วไปเน้นงานด้านพัฒนาโรงงานผลิตพรีมิกซ์ อาหารเสริมและยาสำหรับสัตว์ โดยเพิ่มระบบมาตรฐานจ าก ISO 9001 : 2000 ในขณะนั้น (ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่น 2008แล้ว) มาเป็นได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP & HACCPจากกรมปศุสัตว์ และมาตรฐานGMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งภายหลังทาง อย.ได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นมาตรฐาน GMP PIC/S เราก็ได้ปรับเปลี่ยนตามและได้รับรองมาตรฐานนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ASPยังได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Quality Mark จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนับเป็นรายแรกในวงการโรงงานยาสัตว์ไทย
สำหรับปี2563 เราวางแผนเพิ่มศักยภาพในการผลิตของASPอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเพิ่มระบบมาตรฐานระดับยุโรปอย่าง FAMI-QS เข้ามาในสายการผลิต เพื่อเพิ่มความเป็นมาตรฐานด้านวัตถุดิบและอาหารเสริมสำหรับสัตว์ที่เน้นด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้วยมาตรฐานระดับยุโรป
สำหรับภารกิจด้านงานต่างประเทศนั้น ทางคุณหมอวินัยได้รับมอบหมายจากเครือเวทโปรดักส์ให้เริ่มต้นการลงทุนที่เวียดนามในปี 2551 ณ เมืองโฮจิมินส์ เมื่อกิจการเติบโตด้วยดีแล้ว ทางทีมงานจึงได้ขยายต่อไปที่เมืองฮานอย และล่าสุดที่ดานัง จากโมเดลเวียดนาม คุณหมอวินัยจึงได้บุกเบิกและขยายการลงทุนต่อไปที่ประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2553 และช่วยทีมงานขยายงานในประเทศจีน ณ เมืองกวางโจวในปี 2555 จากนั้นคุณหมอวินัยจึงไปขยายการลงทุนต่อในประเทศกัมพูชาในปี 2556 สำหรับสปป.ลาวนั้นทางคุณหมอบุญมี ครองแสนเมือง รับไปขยายการลงทุนต่อในปีเดียวกัน และล่าสุดคุณหมอวินัยได้ขยายการลงทุนในประเทศเมียนมาร์ในปี 2557 ทำให้เราประสบความสำเร็จในการส่งออกผลิตภัณฑ์ASPไปประเทศต่างๆในอาเซียนอย่างมาก และทำการตลาดที่แตกต่างโดยทีมเวทโปรดักส์กรุ๊ปในต่างประเทศ ซึ่งเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนมีบางสื่อได้สัมภาษณ์และกล่าวว่า “เราก้าวไกลในอาเซียน” ดังนั้น การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปลายปี 2558 นี้ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับการก้าวเข้าสู่ปีที่ 22 ของเครือเวทโปรดักส์ เราASPพร้อมแล้วสำหรับการสร้างความแตกต่างที่สร้างประโยชน์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน
ASP : Difference for Your Benefits…แตกต่างสร้างประโยชน์
กล่าวว่า ….บริษัท แอนิมัล ซัพพลีเมนท์ แอนด์ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด หรือ เอเอสพี (ASP) ในเครือเวทโปรดักส์ ASP เป็นผู้ผลิต (Manufacturer) และพัฒนา (Developer) สินค้าคุณภาพให้กับลูกค้า ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจภายใต้นโยบาย “Difference for Your Benefits…แตกต่างสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า” ด้วย 7 เสาหลักสำคัญ คือ
1.มาตรฐานสากล (International Standard) ASP เป็นโรงงานที่ได้รับ มาตรฐานการผลิตสินค้าคุณภาพครบถ้วน ทั้ง ISO9001: 2008, GMP จากกรมปศุสัตว์, GMP PICS จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, และ HACCP นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นสู่มาตรฐาน FAMI-QS และ ISO17025 |
2.ศูนย์ปฏิบัติการและควบคุมคุณภาพ (ASP Laboratory Center & Quality Control) ASP มีห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำและทันสมัย เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและสินค้าในทุกขั้นตอนการผลิต โดยครอบคลุมการตรวจทั้งด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ |
3.โครงการ Certified By Test (CBT)
ASP มีการศึกษาเปรียบเทียบในห้องปฏิบัติการทั้งในด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ นอกเหนือจากกระบวนการควบคุมคุณภาพตามปกติ เพื่อคัดสรรวัตถุดิบหรือสินค้าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า เพราะเราเชื่อว่าทุกอย่างมีความแตกต่างกัน ภายใต้โครงการ Certified by Test (CBT)
4.ศูนย์พัฒนาและวิจัย (VRI) ASP มีศูนย์พัฒนาและวิจัย เพื่อพัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมและบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ภายใต้ชื่อ “Vet products group Research and Innovation (VRI) Center” |
5.สำนักเทคนิค (ITAC)
The International Technical & Academic Center (ITAC) of Vet Products Group, ทีมนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านการจัดการโรงงานอาหารสัตว์ การจัดการฟาร์ม การแก้ปัญหาเรื่องโรคและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพร้อมที่จะช่วยดูแลลูกค้าของเราทั้งในและต่างประเทศ
6.ธุรกิจทั้งภายในและระหว่างประทศ (Domestic & International Business)
ด้วยคุณภาพของสินค้าที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ปัจจุบัน ASP มีการขยายธุรกิจไปยังหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ลูกค้าของเราจึงมีทั้งในส่วนที่เป็นลูกค้าขายตรง (ฟาร์มขนาดใหญ่และโรงอาหารสัตว์) และลูกค้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
7.ตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ (Thailand Trust Mark)
ASP มีการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ASP เป็นบริษัทแรกในกลุ่มอาหารเสริมและยาสำหรับสัตว์ที่ได้รับ “ตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ (Thailand Trust Mark)” จากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงมาตรฐาน คุณภาพ และการยอมรับในสินค้าของ ASP เป็นอย่างดี
VRI (Vet products Group Research and Innovation Center)
กล่าวว่า..ตลอดระยะเวลา 26 ปีของ เวทโปรดักส์ กรุ๊ป เรามีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการพัฒนา และสร้างสรรผลิตภัณฑ์ ให้เข้ากับสถานการณ์ของเศรษฐกิจ สภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความยั่งยืน และความมั่นคงให้กับธุรกิจของลูกค้า โดยการวิจัยในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหารผ่านทางหน่วยงานของ VRI – Vet Products Group Research and Innovation Center จากผลงานการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบริการทางวิชาการต่างๆ ของเราได้ช่วยตอบโจทย์ของลูกค้า ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การส่งเสริมสุขภาพสัตว์ที่ดี และการใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาประเมินความเสี่ยงทางด้านคุณภาพของอาหารสัตว์ เพื่อลดความสูญเสียจากปัญหาวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ โดยข้อมูลทั้งหมดของเราได้ทำการตีพิมพ์ และเผยแพร่ในงานวิชาการระดับชาติ หวังมุ่งเน้นให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
นอกจากนี้ หน่วยงาน VRI ของเรายังคงเดินหน้าที่จะทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการทางวิชาการ โดยมี Milestones หรือหลักชัยของการทำงานในอนาคตที่จะตอบโจทย์ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้เต็มประสิทธิภาพของพันธุกรรม รวมทั้งการมีสุขภาพที่ดี เพราะอนาคตประชากรมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรมีเท่าเดิม นั่นหมายถึงโอกาสที่เราจะเจอปัญหาการขาดแคลนของแหล่งอาหาร หน่วยงาน VRI ของเราตระหนักในปัญหาข้อนี้ จึงทำแผนวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในอนาคต
ITAC (The International Technical and Academic Center)
กล่าวว่า … เป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ฝ่ายวิชาการ เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ได้สนับสนุนงานด้านวิชาการ เพื่อส่งเสริม และพัฒนาการผลิตสัตว์ รวมถึงประสานความร่วมมือต่างๆ กับหน่วยงานภายนอก และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการจัดสัมมนา ให้ความรู้ทางวิชาการ และ เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ผ่านทางวารสารเวทไดเจสต์ จากหน่วยงานเล็ก ๆ ในองค์กร ขยายเป็นฝ่ายงานวิชาการ ที่ส่งเสริมการผลิตครบวงจร ทั้งการจัดการ โรค และอาหารสัตว์ และเพื่อสนับสนุนธุรกิจปศุสัตว์ไทย ได้ขยายงานจากสุกรไปสู่สัตว์ปีก , สัตว์เคี้ยวเอื้อง , สัตว์น้ำ และโรงงานอาหารสัตว์ ตามการเติบโตขององค์กร มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญครบทุกด้านทั้งสัตวแพทย์ สัตวบาล นักโภชนาการ และวิศวกร เพื่อตอบสนองความต้องการ และพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงให้ก้าวไกล จวบจนก้าวเข้าสู่ AEC และปีที่ 23 ของเวทโปรดักส์ กรุ๊ป ฝ่ายวิชาการ ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ITAC (The International Technical and Academic Center) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ด้านวิชาการ จากทีมงานวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมีปณิธานเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ และทีมงานที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และความชำนาญเฉพาะด้าน ในการผลิตปศุสัตว์ที่ครบวงจร โดยเน้นการทำงานที่ชัดเจน รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการที่ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางวิชาการเพื่อประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดียิ่งขึ้น และส่งเสริมให้ประเทศไทย และประเทศในกลุ่ม AEC เป็นผู้นำในการผลิตปศุสัตว์ของโลกต่อไปในอนาคต
มุมมองและความคาดหวัง กับบทบาทของงานบริการวิชาการในต่างประเทศ
กล่าวว่า หลายประเทศยกให้เราเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียน เพราะต้องยอมรับว่าเรามีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ประสิทธิภาพการผลิตที่ดีทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่โลกทุกวันนี้หมุนเร็วมาก การสื่อสารเชื่อมโยงโลกดูเหมือนจะแคบขึ้นทุกที วันนี้เราเป็นเบอร์ 1 อีกไม่กี่ปีข้างหน้าอาจจะไม่ใช่ หากเราหยุดนิ่งและย่ำอยู่กับที่ ประเทศเพื่อนบ้านเราพัฒนาเร็วมาก และพร้อมเปิดรับความก้าวหน้า เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าปศุสัตว์ อีกไม่นานก็จะตามทันเราในที่สุด
การบริการงานวิชาการต่างประเทศนั้น เราตระหนักดีว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความพร้อมคือ
1. ทีมงานวิชาการต้องเป็นทีมใหญ่ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้านครบครัน (Specialist ) เช่น Nutritionist , วิศวกรดูแลเครื่องจักร , สัตวแพทย์ดูแลเรื่องสุขภาพ และอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อสนับสนุนความต้องการที่หลากหลาย
2. ต้องมีเทคโนโลยีสมัยใหม่และห้อง Lab ของเราเองไว้คอยบริการ
3. ต้องสามารถให้คำปรึกษาด้านการผลิตครอบคลุมทุกชนิดปศุสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น สุกร , ไก่ ,สัตว์น้ำ , สัตว์เคี้ยวเอื้อง เป็นต้น
4. ต้องมีเครือข่ายความร่วมมือในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัย , หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
5. ต้องมีทีมงานวิชาการที่ประจำอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการให้บริการ
ในอนาคตนอกจากการบริการวิชาการต้องครอบคลุม ครบทุกความต้องการแล้ว ต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา เช่น ภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ จำเป็นต้องสรรหาและวิจัยวัตถุดิบทดแทนเพื่อมาใช้ , ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะ, ปัญหาเรื่องแรงงานคนที่หายากขึ้นและมีค่าแรงที่แพง ต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมาทดแทน แม้กระทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ที่ทนโรค หรือเลี้ยงง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนี้ เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ได้ตระหนัก และเตรียมความพร้อมในสิ่งเหล่านี้มาเป็นอย่างดี พร้อมสนับสนุนงานบริการทางวิชาการในต่างประเทศอย่างเต็มที่ |