Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

VPG success story #77
“เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในไก่ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมที่ตรงจุด”
อย่างที่ทราบกันดี ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจไปจากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคต่างๆที่กระทบสุขภาพไก่โดยตรง,กระทบผลผลิตจากปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์,สารพิษจากเชื้อรา รวมทั้งสภาพอากาศแบบสุดขั้วที่ทำให้ไก่เกิดภาวะความเครียด อ่อนแอ ทำให้ยากต่อการจัดการส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพผลิตโดยตรง
ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อผลกำไร โดยผลผลิตที่เสียหายที่พบได้ เช่น ไข่สะสมและเปอร์เซ็นต์ไข่ที่ลดลงจากมาตรฐานประมาณ 2-5 % ,คุณภาพไข่เสียหายเพิ่มขึ้น 1-2 % ในไก่เนื้อมี FCR และการสูญเสียรวมที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้เลี้ยงต้องให้ความใส่ใจต่อการจัดการการเลี้ยงที่มากขึ้น รวมทั้งการรู้สาเหตุที่เป็นปัจจัยโน้มนำที่รวดเร็วและตรงจุดก็เป็นปัจจัยเสริมสำคัญที่ทำให้วางแผนรับมือปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องสุขภาพและการจัดการที่ฟาร์มเอง ผลิตภัณฑ์เสริมก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ร่วมกันกับการจัดการที่ถูกต้อง จากการแก้ปัญหาของฟาร์มไก่ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าการวางโปรแกรมสารเสริมป้องกันที่ถูกต้องสามารถลดผลกระทบต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น โดยมีกระบวนการในการจัดการดังนี้
1) เข้าหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาที่กระทบผลผลิตภายในฟาร์ม โดยดูจากฐานข้อมูลผลผลิต, เข้าติดตามตรวจสอบการจัดการในฟาร์ม ร่วมกับการผ่าซากและผลตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการ เพื่อระบุปัจจัยที่สำคัญในการวางแนวทางแก้ไขปัญหา
2) วางโปรแกรมผลิตภัณฑ์สารเสริมต่างๆ ในกลุ่มสารเสริมทางเลือกให้ตรงกับลักษณะปัญหา ดังนี้
2.1) ปัญหาระบบทางเดินหายใจ, ทางเดินอาหาร, การติดเชื้อแทรกซ้อน ใช้สารเสริมที่ส่งผลในการควบคุมปริมาณเชื้อก่อโรคทั้งไวรัสและแบคทีเรีย รวมทั้งกลุ่มที่บรรเทาอาการจากการติดเชื้อ
2.2) กรณีกระทบผลผลิตไข่ อาจให้สารเสริมที่ส่งผลต่อระบบที่มีผลต่อการสร้างไข่โดยตรง เช่น สารกลุ่มบำรุงตับ วิตามิน กรดอะมิโน เพื่อชดเชยจากการที่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
2.3) ภาวะกดภูมิคุ้มกันทั้งจากโรคและสารพิษจากเชื้อ แก้ไขการจัดการที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น คุณภาพอาหาร, เทคนิควัคซีน, การจัดการ ร่วมกับการใช้สารเสริมในช่วงเวลาที่มักกระทบปัญหา
2.4) คุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีปัญหา การใช้สารเสริมกลุ่มเอนไซม์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยได้ ทั้งที่ใช้ที่โรงงานผลิตอาหารและใช้สารเสริมที่ฟาร์มเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหา
3) สรุปแนวทางการจัดการและโปรแกรมสารเสริมที่สอดคล้องกับประสิทธิภาพการผลิต โดยพบว่าหากระบุสาเหตุปัญหาและแก้ไขในช่วงเวลาที่ถูกต้อง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เช่น % ไข่ ที่สูงขึ้น 2-3 %, จำนวนไข่สะสมที่สูงขึ้นประมาณ 2-5 ฟอง/แม่/ตัว ในไก่เนื้อ FCR ที่ลดลง 0.01-0.03 รวมทั้ง % การสูญเสียที่ลดลง 0.5-1 %
จะเห็นว่าการใช้แนวทางรับมือปัญหาโดยใช้เครื่องมือต่างๆร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการที่ฟาร์ม คุณภาพอาหาร การป้องกันโรค รวมทั้งผลิตภัณฑ์สารเสริม สามารถทำให้ฟาร์มเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งสามารถวัดได้ด้วย ROI ที่อยู่ในระดับที่คาดหวัง

#ประสิทธิภาพผลิตไก่ #สารเสริม
#ไก่ #สัตว์ปีก #ฟาร์มไก่ #ไก่ไข่ #ROI
#iTACTeam VPGSuccessStory
#ตอบโจทย์ทุกปัญหาเรื่องฟาร์มปศุสัตว์
#VetProductsGroup

For customer        02-937-4888