VPG Success story #75
✍️ หัวข้อ : พาร์โวไวรัส (Porcine Parvovirus) ในหมูสาว กับความสูญเสียที่คาดไม่ถึง
✏️ โดย สพ.ญ. ลักษิกา รัตนนทีกุล (หมอเออน)
Swine Assistant Technical Manager, ทีมวิชาการ iTAC เครือเวทโปรดักส์
📍โรคพาร์โวไวรัสสุกร (Porcine Parvovirus : PPV) ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความสำคัญกับฟาร์ม ในเชิงของประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะในหมูสาว
🦠แม่หมูที่ได้รับเชื้อในระหว่างอุ้มท้อง จะทำให้เกิดความเสียหายของตัวอ่อน โดยจะแตกต่างกันตามช่วงอายุอุ้มท้อง เนื่องจากเชื้อผ่านรกเข้ามาติดตัวอ่อนภายในมดลูกช้าๆ ตัวอ่อนที่ตายจะถูกดูดซึมน้ำกลับ เหลือสภาพเป็นมัมมี่ขนาดที่ต่างๆ กัน และอาจคลอดร่วมกับลูกที่มีชีวิตด้วย
⭐️ จึงเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ นั่นคือ ฟาร์มจะพบ %มัมมี่เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยจะเป็นมัมมี่แบบยกท้องในหมูสาวเป็นหลัก และขนาดมัมมี่เรียงจากเล็กไปใหญ่
📍ขอยกตัวอย่างฟาร์มแห่งหนึ่งที่มีการทดแทนหมูสาวจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา และเนื่องจากเร่งรีบเตรียมหมูสาวทดแทน ทำให้การจัดการบางส่วนไม่ได้ทำอย่างถูกต้อง >> ส่งผลให้เมื่อหมูสาวชุดแรกให้ผลผลิต ฟาร์มพบตัวเลขประสิทธิภาพที่ไม่ดี
🔻 จำนวนลูกแรกคลอด(BA) ต่ำ 9.7 ตัว
🔻 %มัมมี่ สูงมากอยู่ที่ 10.5% ค่ามาตรฐานไม่ควรเกิน 2% โดยพบลักษณะมัมมี่ยกท้อง หลายขนาดในแม่หมูสาว
♻️ ทางทีมวิชาการ iTAC จึงได้เข้าให้ความช่วยเหลือฟาร์ม เพื่อช่วยแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสีย
✅ เริ่มจากการส่งตัวอย่างมัมมี่ที่พบ ตรวจยืนยันเชื้อ PPV ตามที่สงสัย
✅ ซักประวัติการจัดการหมูสาวตั้งแต่เริ่มต้น รวมถึงเข้าประเมินการทำงานจริงในฟาร์มด้วย
✅ สรุปสาเหตุจากการเตรียมหมูสาวทดแทนผิดพลาด จึงได้ให้คำแนะนำกระบวนการจัดการที่ถูกต้องทันที
⭐️ หลักการสำคัญในการป้องกันปัญหา พาร์โวไวรัส คือ การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพให้หมูสาว ให้ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่จะใช้งาน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่วงอุ้มท้อง
✅ มีการคลุกโรคหมูสาว เพื่อให้หมูสาวรับเชื้อประจำถิ่นของฟาร์ม และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่ป่วยเมื่อนำเข้าฝูง (ภายใต้การประเมินโดยสัตวแพทย์คุมฟาร์ม)
✅ ทำวัคซีนที่สำคัญให้ครบถ้วน โดยในกรณีของพาร์โวไวรัส การฉีดวัคซีนให้ผลที่ดีในการป้องกันโรค ✨ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
โดยแนะนำให้มีการทำวัคซีน PPV 2 เข็ม ก่อนที่จะใช้งานหมูสาว 2-4 สัปดาห์
🎈สุดท้ายหลังจากฟาร์มปรับการจัดการหมูสาวให้ถูกต้อง เตรียมความพร้อมหมูสาวที่ดีในทุกๆด้าน ประสิทธิภาพปัจจุบันของฟาร์มได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 12.6 ตัว และมัมมี่ลดลงอยู่ที่ 1.5% โดยเฉลี่ย 🎉
✨แม้ว่าจะดูเป็น %ความเสียหายที่ไม่สูงมาก แต่หากฟาร์มละเลยหรือผิดพลาด รวมๆแล้วทำให้ฟาร์มเสียโอกาสที่จะได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเยอะมาก ซึ่งการจัดการไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแค่วางแผนให้ดี ปฏิบัติให้ถูกต้องเท่านั้นเอง💯
🌈 ทีมวิชาการ iTAC ในเครือ Vet product มีผู้เชี่ยวชาญทุกด้าน พร้อมแล้วที่จะเข้าไปดูแลและช่วยเหลือท่าน >> ไม่ว่าความต้องการของฟาร์มจะเป็นแบบไหน เรามีทางออกให้ฟาร์มเสมอ 🌈
🥰 อยากให้เราเข้าไปช่วย ติดต่อฝ่ายขายเครือเวทโปรดักส์ประจำเขตของท่าน และติดตาม VPG Success Story ได้ในตอนหน้า
#VPGSuccessStory #พาร์โวไวรัส #PorcineParvovirus
#VetProductsGroup #iTACTeam #ทีมวิชาการไอแทค
#หมู #ฟาร์มหมู #แม่หมู #Swine #โรคหมูสาว