Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

พาร์โวไวรัส โรคสำคัญที่ฟาร์มไม่ควรมองข้าม By ทีมวิชาการไอแทค

โรคพาร์โวไวรัสสุกร (Porcine Parvovirus : PPV) ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความสำคัญกับฟาร์ม ในเชิงของประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะในหมูสาว โดยแม้ว่าเชื้อพาร์โวไวรัสจะมีความทนต่อความเป็นกรด ด่าง และยาฆ่าเชื้อ ยากต่อการกำจัดให้หมดไปจากฟาร์ม แต่การเกิดความเสียหายและความรุนแรงของโรค สามารถควบคุมและจัดการได้ ด้วยหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งจะกล่าวต่อในช่วงท้ายของบทความ

Porcine Parvovirus เป็นสาเหตุของความล้มเหลวในระบบสืบพันธุ์ของสุกร โดยการที่แม่สุกรช่วงอุ้มท้องระยะแรก ได้รับเชื้อผ่านทางจมูกและปาก (Oronasal) บางครั้งก็สัมผัสโดยทางน้ำเชื้อ และเกิดการติดเชื้อไปยังลูกสุกรในท้องผ่านทางรก (Transplacental infection) ซึ่งลักษณะของความเสียหายที่พบ จะแตกต่างกันตามช่วงอายุอุ้มท้องที่แม่สุกรเกิดการติดเชื้อและแพร่เชื้อไปยังตัวอ่อนในท้อง ดังตาราง และทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อในช่วงอื่นนอกจากการตั้งท้อง

  • การติดเชื้อช่วง 10-30 วันแรกของการตั้งท้อง จะทำให้ตัวอ่อน (Embryo) ตายหมดและถูกดูด ซึมกลับในมดลูก เกิดการกลับสัด (ท้องลมหรือท้องเทียม)
  • การติดเชื้อช่วง 30 – 70 วัน ตัวอ่อน (Fetus) จะตายในระยะต่างกัน เนื่องจากเชื้อผ่านรกเข้ามาติดตัวอ่อนภายในมดลูกช้าๆ ตัวอ่อนที่ตายจะถูกดูดซึมน้ำกลับ เหลือสภาพเป็นมัมมี่ขนาดที่ต่างๆ กัน อาจคลอดร่วมกับลูกที่มีชีวิต
  • การติดเชื้อช่วงเกิน 70 วัน ลูกสุกรมักมีชีวิตรอด เพราะลูกสุกรสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นได้แล้ว

 

ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ฟาร์มสามารถจัดการและป้องกันความเสียหายจาก Parvovirus ได้ เพียงแค่มีวิธีการจัดการที่ถูกต้อง โดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับแม่สุกร เป็นกลไกหลักในการป้องกันการติดเชื้อ PPV และวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การทำวัคซีน

โปรแกรมวัคซีนที่แนะนำคือ ฉีดในหมูสาวก่อนนำไปใช้งานอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ และควรฉีดซ้ำ 2 เข็ม เพื่อให้สามารถกระตุ้นภูมิได้สูงก่อนจะเข้าสู่ระยะอุ้มท้อง ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ และนอกจากนี้เนื่องจาก PPV พบได้ทุกแห่งในฝูงสุกร ดังนั้นเราจึงต้องจัดการในฝูงพ่อแม่พันธุ์ โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้เช่นกัน ถึงแม้ว่าพ่อพันธุ์จะไม่แสดงอาการ แต่พ่อพันธุ์สามารถเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อและแพร่เชื้อได้

 

ภาพแสดงลักษณะตัวอ่อนที่ติดเชื้อ PPV และเกิดเป็น Mummified fetus ในระยะต่างๆ
(ที่มา: Fenner’s Veterinary Virology (Fifth Edition), 2017)

 

ทีมวิชาการ iTAC

______________________________

______________________________

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

CategoryiTAC, หมู, Article

For customer        02-937-4888