ไอ ซี (I seeee! ) กับอาหารสัตว์ผสมยา By: ศูนย์วิจัยและพัฒนาVRI
การผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสัตว์ แต่การผลิตอาหารสัตว์ให้ดีและถูกต้องตามกฎหมายเป็นสิ่งที่สุขใจของผู้ผลิต ดังนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมายอาหารสัตว์ผสมยาเป็นสิ่งที่จำเป็น การจัดทำระบบมาตรฐานเพื่อรองรับกฎหมายอาหารสัตว์ผสมยา สามารถหาคำตอบได้กับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากทีมงาน iTAC เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักรายละเอียดคร่าวๆกันก่อน
จากประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของอาหารสัตว์ที่ผสมยาที่ห้ามผลิต นำเข้าขาย และใช้ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2561
- ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า ขายอาหารสัตว์ที่ผสมยาและใช้ยา ดังต่อไปนี้ผสมอาหารสัตว์
- ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับผสมอาหารสัตว์ เภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
- ยากลุ่มโพลีมิกซิน กลุ่มเพนิซิลลิน กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน และยาฟอสโฟมัยซิน เพื่อป้องกันโรคหรือใช้ขนาดยา ระยะเวลาการใช้ยาไม่ตรงกับที่ระบุในฉลากยา และการนำยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมรวมกันในอาหารสัตว์
- ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin)
- ใช้ยาต้านแบคทีเรียต่ำกว่าที่ระบุในทะเบียน (ยกเว้นใช้ยารวมกัน > 1 ชนิด โดยมีข้อมูลวิชาการหรือเอกสารอ้างอิง)
- ในกรณีผู้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยาจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยาต้านแบคทีเรีย เพื่อใช้ในฟาร์มตนเอง จะครอบคลุม
(ก) ผู้ผลิตอาหารสัตว์สำหรับสุกร ซึ่งมีจำนวนสุกรตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป
(ข) ผู้ผลิตอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ปีกให้เนื้อ ซึ่งมีจำนวนสัตว์ตั้งแต่ 5,000 ตัวขึ้นไป
(ค) ผู้ผลิตอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ปีกให้ไข่ ซึ่งมีจำนวนสัตว์ตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป
- มีใบสั่งใช้ยา ใบสั่งซื้อยา ที่มีลายเซ็นสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม เก็บอย่างน้อย 3 ปี และสรุปปริมาณการใช้ยาผสมอาหารสัตว์ส่งกรมปศุสัตว์ (ปีละ 1 ครั้ง)
- ต้องมีการทดสอบการกระจายตัวในอาหาร (CV<10%) และ ทดสอบการปนเปื้อนข้ามของยา (<5% แต่ถ้าอาหารสัตว์ระยะสุดท้ายก่อนขาย <1%) ส่งปศุสัตว์จังหวัด ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
- จดแจ้งเป็นผู้ที่ผลิตอาหารสัตว์ผสมยา
- จัดให้มีระบบควบคุมการผลิต และการบำรุงรักษาทวนสอบเครื่องจักรที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยา และจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มที่ 2 ผู้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยาต้านจุลชีพ เพื่อจำหน่าย (รวมถึงส่งให้ลูกเล้า)
- จดแจ้งเป็นผู้ที่ผลิตอาหารสัตว์ผสมยา
- สถานที่ผลิตอาหารสัตว์ต้องได้รับการรับรอง GMP เก็บเอกสารและใบสั่งใช้ยาไว้อย่างน้อย 3 ปี
- ต้องมีสัตวแพทย์ควบคุมการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา
- ต้องมีการทดสอบการกระจายตัวในอาหาร (CV<10%) และ ทดสอบการปนเปื้อนข้ามของยา (<5% แต่ถ้าอาหารสัตว์ระยะสุดท้ายก่อนขาย <1%) ส่งปศุสัตว์จังหวัด ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
- การขนส่งอาหารสัตว์ที่ผสมยา ฉลากหรือเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆ
- จัดทำข้อมูลปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ ที่นำมาผสมในอาหาร ปริมาณการขายอาหารสัตว์
สนใจต้องการจัดทำระบบมาตรฐานเพื่อรองรับกฎหมายอาหารสัตว์ผสมยา ติดต่อฝ่ายขายเครือเวทโปรดักส์ กรุ๊ป