Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

ปัญหาตุ่มแดงบนสุกร แค่ยุงกัด #แต่อาจรุนแรงได้ !!!

ตัวอย่างฟาร์มสุกรแห่งหนึ่ง เป็นฟาร์มที่เลี้ยงสุกรพันธุ์และสุกรขุนแยกกันอยู่คนละแห่ง มีการเคลื่อนย้ายสุกรอนุบาลไปยังฟาร์มสุกรขุน ทำให้สุกรอนุบาลที่ย้ายลงไปใหม่ เริ่มสัมผัสกับเชื้อไวรัส PRRS จากสุกรรุ่นพี่ที่อยู่ในฟาร์มสุกรขุน ปัญหาที่พบ คือ ผิวหนังของสุกรขุนอายุ 15 – 16 สัปดาห์ เกิดเป็นตุ่มนูน กระจายตามผิวหนังและลำตัวของสุกร บางครั้งก็เกิดเป็นดวงๆ ที่ผิวหนัง และเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบตามมา นอกจากนั้นยังพบอาการผื่นแดงตามลำตัวอีกด้วย สำหรับสุกรตัวที่แสดงอาการรุนแรง จะเริ่มกินอาหารลดลง ติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น เกิดความเสียหายในลักษณะที่ต้องคัดทิ้งสุกรจากปัญหาแคระแกร็นสูงขึ้นกว่าในช่วงฤดูอื่นๆ (เพิ่มขึ้นประมาณ 3 – 5 % จากความเสียหายเดิม)

เมื่อได้เข้าไปติดตามและตรวจสอบลักษณะของความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้สงสัยว่าน่าจะมีการติดเชื้อไวรัส PRRS ร่วมด้วยในช่วงอายุดังกล่าว จึงได้ทำการเจาะเลือดติดตามระดับของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส PRRS ในสุกรของฟาร์มแห่งนี้เพื่อเป็นการยืนยันในข้อสันนิษฐาน โดยวิธีการตรวจหา S/P ratio ซึ่งใช้วิธี ELISA (ศัพท์เทคนิคInbox ถามด้านหลังได้ครับ)

จากภาพจะแสดงให้เห็นว่า สุกรในฟาร์มแห่งนี้ได้สัมผัสกับเชื้อไวรัส PRRS ทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อสุกรเหล่านี้ถูกยุงกัด รอยโรค ความรุนแรงและความเสียหายก็จะสูงขึ้นกว่าปกติทันที
การจัดการแก้ไขเบื้องต้น ได้แก่
ใส่ยาปฏิชีวนะกลุ่มแอ็มม๊อกซี่ซิลลิน ในอาหารสุกรช่วงที่แสดงอาการป่วย (อายุ 12 – 16 สัปดาห์) และฉีดยาปฏิชีวนะให้กับสุกรตัวที่แสดงอาการป่วยรุนแรง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหรือลดการลุกลามของรอยโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้น
จัดการเรื่องแหล่งที่อยู่ของยุง เพิ่มการพ่นยาฆ่าแมลงให้บ่อยขึ้น มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงการตัดหญ้าหรือพุ่มไม้เตี้ยๆ ที่อยู่รอบๆ โรงเรือน เพื่อลดปริมาณของยุงให้น้อยลง

แนะนำให้ทำวัคซีน PRRS ในลูกสุกรอายุ 2 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้สุกรมีระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะทนต่อยุงกัดได้ดีขึ้นในช่วงอายุดังกล่าว เพื่อลดความรุนแรงของรอยโรค
จากกรณีศึกษาข้างต้น ลักษณะรอยโรคหรือความเสียหายอาจจะกำลังเกิดขึ้นในฟาร์มบางฟาร์ม ที่ยังจัดการกับปัญหา PRRS ได้ไม่ดีนัก

Vet Product Group จึงอยากให้ท่านเจ้าของฟาร์มลองกลับไปตรวจสอบฟาร์มของท่านว่าพบปัญหาดังตัวอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วหรือไม่ เพราะอย่างน้อยการพบตุ่มนูน ผื่นแดงที่ผิวหนังของสุกรขุนที่มากหรือรุนแรงกว่าปกติ อาจจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค PRRS ในฟาร์มของท่านได้

CategoryArticle

For customer        02-937-4888